วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานชิ้นที่ 2

การเก็บรักษาข้อมูล
เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แล้ว ต้องหาวิธีการเก็บรักษาเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหายไป และในขณะเดียวกันต้องสามารถค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีวิธีการจัดเก็บแบบต่างต่อไปนี้
1. เก็บเป็นแฟ้มเอกสาร เป็นวิธีการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นกระดาษ แล้วรวบรวมใส่แฟ้มแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ข้อดี จัดเก็บได้ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีมากนัก ข้อเสีย การหาข้อมูลใช้เวลานาน เอกสารอาจสูญหายหรือฉีกขาดได้ง่าย เมื่อเก็บ
นาน ๆ กระดาษจะเก่าทำให้ข้อความเลอะเลือนอ่านไม่ได้ การขนย้ายเอกสาร
ทำได้ยากเพราะมีจำนวนและน้ำหนักมาก
2. เก็บเป็นไม่โครฟิล์ม ในสมัยก่อนยังไม่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน มีวิธีการนำเอกสารจำนวนหลาย ๆ หน้ามาเรียงกัน แล้วใช้กล้องถ่านเป็นฟิล์มขนาดเล็กมาก เรียกว่า ไมโครฟิล์ม สามารถเก็บหรือซุกซ่อนไว้ได้ง่าย เมื่อนำไปใช้จะต้องใช้กล้องขยายเพื่ออ่านข้อความ หรือฉายออกมาเป็นภาพ
3. เก็บในเทปบันทึกเสียง เครื่องบันทึกเทป สามารถบันทึกข้อมูลเป็นเสียงต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เสียงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เสียงลมพัด เสียงฝนตก เป็นต้น
 
3.4 การเก็บภาพถ่าย โดยใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถเก็บภาพถ่ายและข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ไว้ใช้ในการค้นคว้า อ้างอิงต่าง ๆ กล้องถ่ายภาพสามารถบันทึกเป็นแผ่นภาพ หรือเป็นภาพดิจิตอล นำไปเก็บในคอมพิวเตอร์ได้

3.5 เก็บเป็นวีดิทัศน์ กล้องถ่ายวีดิทัศน์ หรือวีดีโอ (Video) ซึ่งการการบันทึกนี้สามารถบันทึกภาพและเสียง บันทึกภาพเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันที และยังกำหนดเวลาในการถ่ายทำได้ เช่น ขั้นตอนการงอกของเม็ดถั่วเขียว ถ่ายทำเมื่อเริ่มเพาะเมล็ดจนถึงการเจริญเติบโตที่มีรากและใบได้
3.6 เก็บในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเรียนรู้จักอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์มาแล้ว เช่น
 
แผ่นดิสเก็ต เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลขนาดเล็กที่พกพาไปได้สะดวก แต่มีความจุหรือเก็บข้อมูลได้น้อย

ฮาร์ดดิสก์ เก็บข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเก็ตแต่มีขนาดใหญ่กว่าและน้ำหนักมากว่า ดังนั้นจึงถูกเก็บไว้ในตัวเครื่องเพื่อเก็บข้อมูลโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนย้ายไปที่อื่นได้ยาก

 
แผ่นซีดี หรือ ซีดี - รอม เก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่นดิสเก็ตหลายเท่า แต่การจัดเก็บต้องใช้เครื่องขับที่สามารถเขียนได้ เนื่องจากซีดี - รอม มีแบบที่อ่านได้อย่างเดียว (CD-ROM) อ่านและเขียนได้ (CD-R) และอ่าน เขียน และลบได้ (CD-RW)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น