วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเขียนแบบ

 

  การเขียนแบบ มีความหมาย คือ การเขียนรูปลงในกระดาษเขียนแบบ ซึ่งมีคำอธิบายไว้ในแบบอย่างพร้อมมูล โดยการเขียนรูปสัญลักษณ์ หรือเส้นลงไว้ในแบบ ซึ่งทำให้ผู้นำเอาไปสร้างของจริงขึ้นมาได้ การเขียนแบบเทคนิค เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องมีความรู้ทางทฤษฎีประกอบ เช่น ช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆมาประยุกต์เป็นรูปแบบภาพลายเส้นที่มีสัญลักษณ์ประกอบ เพื่อนำมาแสดงให้ผู้อ่านแบบงานได้เข้าใจความหมายได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องมีคำบรรยายประกอบมากมาย ทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น ผู้เขียนแบบจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความคิด หรือเสนอความคิดของตนเอง และเขียนภาพสเก็ตซ์จากวิศวกร สถาปนิก และนักวิทยาศาสตร์ให้มาเป็นภาพเขียนแบบเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการผลิตและสร้างในการสเก็ตซ์ภาพหรือเขียนแบบที่กำหนดให้มีมาตราส่วนและแสดงรายละเอียด บางครั้งผู้เขียนแบบอาจจะต้องคำนวณความแข็งแรง คุณภาพ ปริมาณ และราคาวัสดุ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบ เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบ และวิธีใช้ให้ดี เพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบให้มีสภาพดีอยู่ได้นานการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบ

           เครื่องมือเขียนแบบและหน้าที่วิธีการใช้   มีดังนี้
        ๑. โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board ) ใช้รองกระดาษเขียนแบบ ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ ให้ใช้กระดานเขียนแบบแทนก็ได้
  ๒. ไม้ฉากรูปตัวที ( T - Square ) มีลักษณะคล้ายรูปตัว T ซึ่งมีส่วนประกอบ ๒ ส่วน คือ ส่วนหัว ( Fixed Head ) และส่วนตัวไม้ทีประกบกันเป็นมุม ๙๐ องศา ใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวนอน หรือเส้นระดับอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ พร้อมนี้จะต้องใช้ร่วมกับฉากสามเหลี่ยม (Set - Square)สำหรับลากเส้นให้เป็นมุมต่างๆ ลักษณะของไม้ฉากที หรือ T - Square ที่ดีนั้น หัวไม้ฉากทีต้องไม่โยกคลอน ยึดติดกันแน่นกับก้านไม้ตัวขวางของไม้ฉากที ขอบบนของตัวไม้ฉากทีต้องเรียบและตรงไม่บิดงอ การเขียนเส้นนอนต้องลากเส้นจากซ้ายไปขวาเสมอ หัวไม้ฉากทีแนบกับโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือจรดปลายดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้นทำมุมกับกระดาษเขียนแบบเป็นมุม ๖๐ องศา ขณะเดียวกันให้ดินสอเอนออกจากขอบบรรทัดเล็กน้อย เพื่อให้ปลายดินสออยู่ชิดขอบบรรทัดมากที่สุด ในขณะที่ลากเส้น ควรหมุนดินสอไปด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาปลายไส้ดินสอเป็นกรวยแหลม และช่วยให้เส้นดินสอโตสม่ำเสมอกัน
  ๓. ฉากสามเหลี่ยม ( Set - Square ) ชุดหนึ่งมีอยู่ ๒ แบบ มีมุมต่างกันดังนี้ อันแรกเรียกว่า ฉาก ๓๐ ๖๐, และ ๙๐ องศา ส่วนอันที่ ๒ เรียกว่า ฉาก ๔๕, ๔๕, และ ๙๐ องศา การเขียนมุมของฉากสามเหลี่ยมทั้ง ๒ อันนี้ จะต้องใช้ร่วมควบคู่กับไม้ฉากทีทุกครั้ง ในขณะทำการปฏิบัติงานเขียนแบบ
       ฉากสามเหลี่ยมใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวดิ่ง และเส้นเอียงทำมุมต่างๆ เวลาเขียนเส้นดิ่งให้ลากดินสอขึ้นไปตามแนวดิ่ง จับดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้น ทำมุม ๖๐ องศา กับกระดานเขียนแบบ และให้ดินสอเอนออกจากตัวฉากสามเหลี่ยมเล็กน้อย

 ๔. วงเวียน เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง ด้วยดินสอดำหรือหมึกก็ได้ วงเวียนมีหลายแบบ สามารถเลือกใช้แล้วแต่ความสำคัญของความต้องการในแต่กรณี วิธีเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนที่เป็นเหล็กแหลม ให้ยาวกว่าข้างที่เป็นไส้ดินสอเล็กน้อย ใช้ปลายแหลม ปักลงตรงจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางของวงกลม ปรับขาวงเวียนจนกางได้ระยะเท่ากับรัศมีที่ต้องการจับก้านวงเวียนไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนเอนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามเขียนวงกลมให้สมบูรณ์ โดยการหมุนวงเวียนไปเพียงครั้งเดียว
   ๕. ดินสอดำ หรือดินสอเขียนแบบ ( Drawing Pencil ) ดินสอเขียนแบบทำด้วยไส้ดินสอที่มีระดับความแข็งต่างกัน ความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอด้วยตัวเลขและตัวอักษร ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ ควรมีความอ่อนแข็งดังนี้ ๒H, ๓H, H, HB อย่างน้อยควรมี ๔ แท่ง คือ ดินสอที่มีไส้อ่อนได้แก่เกรด F, HB ไส้ขนาดกลาง H – ๒H ไส้แข็ง ๔H – ๕H ในงานเขียนแบบปัจจุบันนี้นิยมใช้ดินสอสำเร็จแบบไส้เลื่อน หรือไส้กด เพราะสะดวกรวดเร็วไม่เสียเวลาต่อการเหลาดินสอ มีความยาวคงที่ บรรจุไส้ใหม่สะดวก ทำให้งานสะอาด ไม่สกปรก
  ๖. ยางลบ ควรเป็นยางลบชนิดนุ่มๆมีคุณภาพใช้ลบดินสอดำที่เขียนผิด หรือลบในสิ่งที่ต้องการจะลบ
 ๗. กระดาษเขียนแบบ มีทั้งขนาดความหนา ๘๐ ปอนด์ ถึง ๑๐๐ ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้นขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือต้องการใช้ขั้นตอนการติดกระดาษเขียนแบบที่ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้ ให้นำกระดาษเขียนแบบที่มีขนาดต่างๆตามความต้องการเขียนแบบวางลงบนพื้นกระดานโต๊ะเขียนแบบหรือแผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบ โดยให้พอเหมาะกับผู้ที่จะเขียนแบบทำการเขียนแบบมีความคล่องตัวในการเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบจะต้องวางไม่สูงเกินไปจนเกือบจะชิดกับขอบด้านบนของโต๊ะเขียนแบบ,แผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบหรือวางต่ำลงมาจนเกือบชิดขอบด้านล่างของโต๊ะ,แผ่นกระดานรองกระดาษเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบให้ห่างจากขอบโต๊ะเขียนแบบทางด้านซ้ายมือประมาณ ๑ ผ่ามือ หรือ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร จากนั้นให้นำไม้ฉากที (T-Square) วางทับบนกระดาษเขียนแบบ โดยให้หัวของไม้ฉากทีแนบชิดกับขอบโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือ ซึ่งบรรทัดยาวไม้ฉากทีจะทำมุมฉากกับขอบโต๊ะเขียนแบบ ใช้ฉากสามเหลี่ยม (Set-Square) วางบนขอบบรรทัดไม้ฉากที ให้ขอบด้านมุมฉากของฉากสามเหลี่ยมอยู่ในแนวเดียวกันกับขอบด้านซ้ายกระดาษเขียนแบบ และฉากสามเหลี่ยมทำมุมฉากกับไม้ฉากที จัดขอบกระดาษเขียนแบบให้อยู่ในแนวเดียวกันกับด้านมุมฉากของฉากสามเหลี่ยม เมื่อจัดเข้าที่เรียบร้อยแล้วให้ติดมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ ด้าน ด้วยกระดาษกาวหรือเทปใส (Scottape) โดยให้ติดขวางมุม แต่จะต้องติดลึกเข้าไปในพื้นที่กระดาษเขียนแบบมากนัก การติดขวางมุมเพื่อป้องกันกระดาษเขียนแบบ หลุดออกได้ง่ายขณะทำการเขียนแบบ เมื่อติดมุมกระดาษเขียนแบบเรียบร้อยแล้ว ยกเครื่องมือเขียนแบบออก ก็จะได้การติดกระดาษเขียนแบบที่ถูกต้องและใช้ในการเขียนแบบต่อไป       ๘. ผ้ายาง หรือเทปกาว ( Scotch Tape ) ใช้ติดกระดาษเขียนแบบกับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบให้แน่นในขณะเขียนแบบทุกครั้ง เพื่อป้องกันกระดาษเลื่อน การติดกระดาษเขียนแบบที่ถูกวิธีนั้น ต้องติดขวางมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ มุมกระดาษ
   ๙. บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves ) บรรทัดโค้งใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้ โดยทำการจุดไว้ให้ได้ ๓ จุด แล้วลากเส้นผ่านตามจุดนั้นๆตามบรรทัดโค้งเลื่อนบรรทัดโค้งความโค้งตามไปครั้งละ ๓ จุด จนกว่าจะได้รูปตามต้องการ
 
 ๑๐. บรรทัดสเกล ( Scale ) ใช้สำหรับย่อส่วนตามต้องการ มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม ๖ ด้าน ในแต่ละด้านจะมีมาตราส่วนย่อไว้ดังนี้ ๑ : ๒๐, ๑ : ๒๕, ๑ : ๕๐, ๑ : ๗๕, และ ๑ : ๑๐๐ 
การบำรุงรักษา
ควรรักษาผิวและบริเวณขอบโต๊ะไม่ให้มีรอยและสิ่งสกปรก พร้อมทั้งต้องได้ฉากอยู่เสมอโต๊ะเขียนแบบแบบรางเลื่อนมีอุปกรณ์ปรับองศาเป็นโต๊ะที่มีความมั่นคงและมี อุปกรณ์การเขียนแบบอยู่บนโต๊ะ โดยไม่ต้องนำไม้ที และฉากมาใช้ประกอบ
                                                                      การบำรุงรักษาควรรักษาผิวกระดานไม่ให้มีรอยขีดข่วนและสิ่งสกปรก ไม่โยน ทำหล่นกระแทก ไม่วางของหนัก หรือนั่งลงไป เพราะอาจทำให้กระดานรอง โค้งงอ บิดเบี้ยวเสียรูป ขาดความเที่ยงตรงในการใช้งาน หรือแตกหักชำรุดเสียหายได้
                                                                      การบำรุงรักษาควรรักษาผิวกระดานไม่ให้มีรอยขีดข่วนและสิ่งสกปรก ไม่โยน ทำหล่นกระแทก ไม่วางของหนัก หรือนั่งลงไป เพราะอาจทำให้กระดานรอง โค้งงอ บิดเบี้ยวเสียรูป ขาดความเที่ยงตรงในการใช้งาน หรือแตกหักชำรุดเสียหายได้
แบบใช้งาน     (Working Drawing)
เป็นแบบที่ใช้เขียนในงานผลิตทุกชนิดเพราะแบบใช้งานที่ได้แสดงรายละเอียดของด้านต่างๆไว้อย่างชัดเจนและถูกต้อง แบบใช้งาน    ได้แก่
2.1 แบบฉาย     เป็นแบบภาพ 2 มิติ ตามแนวตรงเป็นมุมฉากแสดงรายละเอียดของด้านต่างๆเช่น ด้านหน้า ด้านบน ด้านข้าง ด้านหลัง เป็นต้น การแสดงรายละเอียดนั้นต้องมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ด้าน การแสดงแบบภาพฉายมีดังนี้
- ภาพแสดงด้านต่างแบบเต็มขนาดคือ ขนาดเท่าของจริงหรือจะใช้
- มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ได้แต่ต้องบอกไว้อย่างชัดเจน
- มีตัวเลขหรือตัวอักษรประกอบเพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆ
- มีรายการวัสดุที่ใช้โดยละเอียด
แบบภาพฉายนี้ถ้าเป็นงานที่มีรายละเอียดหรือสลับซับซ้อนมากอาจจะเขียนภาพตัดหรือแบบขยายภาพละเอียดประกอบเพิ่มเติมก็ได้

การเขียนแบบภาพ     (Pictorial Drawing)
ได้แก่     การเขียนแบบที่เป็นรูป 3 มิติ มองดูเหมือนของจริงแบบถ่ายภาพ ใช้สำหรับเขียนประกอบเพื่อให้ดูเข้าใจง่าย ผู้ที่ไม่มีความรู้ในการเขียนแบบก็สามารถดูและเข้าใจ แต่ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับสร้างชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อน การเขียนภาพมี 3 แบบด้วยกันคือ
1.1 แบบ Oblique    เป็นแบบภาพ 3 มิติที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง ด้านหน้าเป็นแนวตรงเป็นมุมฉากเหมือนภาพฉาย สามารถจัดขนาดได้ ส่วนด้านลึกจะทำมุมต่างกันกับเส้นระดับ มุมที่ใช้มักจะใช้มุม 45 องศา
1.2 แบบ Isometric     เป็นแบบภาพ 3 มิติมองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริงแนวแกนกลางจะตั้งตรง ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศากับเส้นระดับ
1.3 แบบ Perspective     เป็นแบบรูป 3 มิติเหมือนรูปถ่าย ใช้เขียนประกอบเพื่อแสดงแบบเหมือนของจริง แบบ Perspective มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ
- แบบจุดรวมสายตา 1 จุด
- แบบจุดรวมสายตา 2 จุด
- แบบจุดรวมสายตา 3 จุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น